การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม โดยใช้หลักการยศาสตร์

          ปัจจุบันนี้โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคยอดฮิตโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงาน โดยเฉพาะคนทำงานในออฟฟิศที่มักต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน มีท่าทางการทำงาน และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสมผิดหลักการยศาสตร์ จึงส่งผลให้เกิดโรคนี้กันได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องอาศัยหลักการยศาสตร์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

 

 

ออฟฟิศซินโดรม 

          ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คือกลุ่มอาการปวดตามกล้ามเนื้อและเนื้อยื่อพังผืดที่พบได้บ่อยในคนที่มีละษณะการทำงานอยู่ในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อบริเวณเดิมถูกใช้ซ้ำๆ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวมากนัก จึงทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้น หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน การปวดจะลุกลามไปยังบริเวณอื่นได้

อาการของออฟฟิศซินโดรม

          1. ปวดตามกล้ามเนื้อ โดยมักจะปวดส่วนใดส่วนนึงของร่างกาย เช่น หลัง ไหล่ ต้นคอ สะบัก เป็นต้น

          2. อาการทางระบบประสาทถูกกดทับ การนั่งนานเกินไปอาจทำให้เส้นประสาทถูกกดทับได้

          3. นอนไม่หลับ การทำงานในลักษณะนี้ทำให้เกิดความเครียดสูงได้ง่าย เมื่อรวมกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดศรีษะ จึงค่อนข้างรบกวนการนอนเป็นอย่างมาก

          4. นิ้วล็อค หากจับเมาส์ ใช้แป้นพิมพ์หรือจับโทรศัพท์อยู่ในท่าเดิมนานๆ เส้นเอ็นอาจอักเสบจนหนาตัวขึ้น ทำให้ไม่สามารถขยับนิ้วได้ตามปกติ

หลักการยศาสตร์

          การยศาสตร์เป็นการจัดสภาวะแวดล้อมในการทำงาน และจัดลักษณะท่าทางให้เหมาะสมกับการทำงาน ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่าคนกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งจะคำนึงถึงการออกแบบเครื่องมือในการทำงาน จะเป็นการพยายามปรับงานให้เข้ากับคน คือปรับงานให้ทุกคนสามารถทำได้ และในท้ายสุดคือ การปรับคนให้เข้ากับงาน

 การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม โดยใช้หลักการยศาสตร์

 https://youtu.be/MCNMQeMzU_0

แบบทดสอบความรู้ 

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdRqv28asJYIApvH7KwUlx0QKP-hytPaC8t1mRTc5s8CLrTGw/viewform?fbclid=IwAR13NwwIkwYd72nN1HRXt9hCyZI5t2-jnp335FR8_nrFmTV4JvFaZ9QmCEw

ไฟล์แนบ
FileFile size
Download this file (4.jpg)4.jpg34 kB

ตารางออกตรวจ (คลินิกพิเศษ)